ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

หัวข้อการค้นคว้าอิสระ
Title
ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
Job satisfaction of hospital personnel in Thepharak Subdistrict
Mueang Samut Prakan District Samut Prakan Province
ชื่อผู้วิจัย/ผู้ศึกษา
Author
ธนภรณ์ กล้าหาญ
Tanaporn Klaharn
ปริญญา/คณะ/มหาวิทยาลัย
Degree/Faculty/University
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการองค์การยุคใหม่)/ศิลปศาสตร์/มหาวิทยาลัยเกริก
Master of Arts (Modern Organizational Management)/ Liberal Arts/Krirk University
อาจารย์ที่ปรึกษา
Advisor
ดร.ณัฐวัชร จันทโรธรณ์
Dr.Nattawat Chantarotorn:          
ปีการศึกษา
Academic Year
2566
2023

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแบบสอบถามของงานวิจัยในครั้งนี้ได้เท่ากับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.944 ประชากร คือ บุคลากรโรงพยาบาลเอกชนในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test, F – test (One – way ANOVA) โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD

            ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31 – 40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 1 – 4 ปี และมีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 20,001 – 30,000 บาท ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.35, S.D. = 0.626) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านสภาพการทำงาน อยู่ในระดับมาก และด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านแรงจูงใจการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลในตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบความแตกต่างในด้านความก้าวหน้าในการทำงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 5 คู่ และด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมงาน เมื่อจำแนกรายคู่ พบความแตกต่าง 4 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ: ความพึงพอใจในการทำงาน

Abstract

This research aims to 1) investigate the job satisfaction levels of hospital staff in Theparak Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province; and 2) examine the differences between individual factors and job satisfaction among hospital staff in Theparak Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province. The study adopts a quantitative research approach, utilizing questionnaires as the research tool. The Instrument Objectivity Coefficient (IOC) of the research questionnaire is 0.97, and the questionnaire’s reliability is 0.944. The population for this research consists of hospital staff in Theparak Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province, totaling 100 individuals. Statistical analyses include frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA utilizing the LSD method to compare pairwise differences

Findings indicate that the majority of the sample group is female, aged between 31 – 40 years, single, holds a bachelor’s degree, has 1 – 4 years of work experience, and earns a monthly income between 20,001 – 30,000 Baht. Overall job satisfaction among hospital staff in Theparak Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province, is at the highest level (Mean = 4.35, S.D. = 0.626). When segmented by aspects, satisfaction with relationships with supervisors and colleagues, job performance, and working conditions is high, while advancement opportunities and motivational factors are at a moderate level. The hypothetical test results indicate that various personal factors, namely gender, age, marital status, educational attainment, monthly income, and duration of employment, among the personnel at Tepharak Hospital in Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province, exhibit no significant overall and individual differences in job satisfaction. However, a notable exception is found in the aspect of the duration of employment, where a statistically significant difference is observed. Further analysis reveals differences in career advancement among staff in five pairs and variations in relationships with supervisors and colleagues in four pairs, all statistically significant at the 0.05 level.

Keyword: Job satisfaction

Message us