การจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

หัวข้อการค้นคว้าอิสระ
Title
การจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
Modern Organizational Management Practices Within The Army Psychological Operations Battalion Special Warfare Command
ชื่อผู้วิจัย/ผู้ศึกษา
Author
ทรงศักดิ์ นพประไพ
Songsak Nopprapai
ปริญญา/คณะ/มหาวิทยาลัย
Degree/Faculty/University
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการองค์การยุคใหม่)/ศิลปศาสตร์/มหาวิทยาลัยเกริก
Master of Arts (Modern Organizational Management)/ Liberal Arts/Krirk University
อาจารย์ที่ปรึกษา
Advisor
ดร.จิตรกร ลากุล
Dr.Jitakorn Lakul
ปีการศึกษา
Academic Year
2567
2024

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ 2) เปรียบเทียบการจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษจำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการทหารของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดีของฟิชเชอร์

            ผลการวิจัย พบว่า การจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการจัดองค์กร ด้านการสั่งการ ด้านการประสานงาน ด้านการควบคุม ด้านการวางแผน และการเปรียบเทียบการจัดการองค์การยุคใหม่ของกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อจำแนกตามตำแหน่งงาน และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ในภาพรวม และรายด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: การจัดการ การจัดการองค์การยุคใหม่

Abstract

              This research aims to: 1) examine modern organizational management practices within the Army Psychological Operations Battalion Special Warfare Command, and 2) compare these practices based on individual demographic factors. The study sample consisted of 121 military officers from the aforementioned units. The research employed a questionnaire as the primary data collection tool, and the data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA, with pairwise comparisons conducted using Fisher’s LSD method.

              The findings revealed that the overall level of modern organizational management in the Psychological Operations units was high. When analyzed by specific aspects, the results ranked from highest to lowest in the following order: organization structuring, command, coordination, control, and planning. Additionally, comparisons based on demographic factors such as age, education level, and average monthly income indicated statistically significant differences. However, when classified by job position and work experience, there were no statistically significant differences at the 0.05 level.

Keyword: Management, Modern Organizational Management

Message us